เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นที่เราจะได้เห็นรถนำขบวนเสด็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีที่สำคัญๆ เพราะ "ขบวนจักรยานยนต์เกียรติยศ " เหล่านี้ในปัจจุบันโดยเฉพาะในเอเซียมีเพียงประเทศไทยและเกาหลี เนื่องจากต้องใช้รถที่มีสมรรถนะสูง รวมถึงความสามารถของเหล่าตำรวจที่ขับขี่ด้วย ไม่ต่างจากยุคสมัยแรกที่ใช้ม้าและเหล่าอัศวินนำขบวนกษัตริย์ ถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ที่"กองบังคับการตำรวจสันติบาล"(Special Branch) หรือ บส.3 เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบภาระกิจนี้โดยมีรถระดับตำนานอย่าง "ฮาเล่ย์ เดวิสสัน"เป็นรถของเหล่าอัศวิน
ร.ต.ท.บันลือ งามสะพรั่ง รองสว.กก.1 บก.ส.1 ตำรวจที่ทำหน้าที่ขับจักรยานยนต์ในขบวนเสด็จมากว่า 10 ปี ให้ข้อมูลกับ "ASTV ผู้จัดการ มอเตอริ่ง"ว่า ฝ่ายยานยนต์เกียรติยศนั้นมีหน้าที่ถวายความปลอดภัยพระบารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญฝ่ายไทยและต่างประเทศ สถานที่ราชการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ งานต่อต้านข่าวกรองด้านการเมือง งานการต่อต้านข่าวกรองด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา ความมั่นคงปลอดภัย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม งานจัดระเบียบช่างภาพและสื่อมวลชน และนับเป็นความภูมิใจสูงสุดของชีวิตที่ได้อารักขาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้สมกับที่ได้รับพระราชทานนามว่า “อัศวิน”
"การตั้งขบวนนั้นมีลักษณะเป็นหัวลูกศรขนาบไปกับรถยนต์ส่วนพระองค์ ใช้รถจักรยานยนต์ทั้งหมด 15 คันด้วยกันถ้าเป็นการจัดแบบขบวนเกียรติยศ เราจะต้องรักษาความปลอดภัยให้ทุกพระองค์อย่างแน่นหนา และมีระเบียบที่สุด ส่วนการคัดเลือกตำรวจที่จะมาขับรถจักรยานยนต์นี้เราจะเลือกจากตำรวจที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรถพอสมควร เนื่องจากจะได้ดูแลรถไปในตัวด้วย ปัจจุบันเรามีพลขับกว่า 30 นาย หมุนเวียนกันไป หากต้องเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินจำเป็นต้องจัดการให้คนคันอื่นๆพ้นทางไปเราก็ต้องชนเพราะเราต้องให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี"
การใช้งานกว่าหลายสิปปีทำให้เจ้าฮาเล่ย์เหล่านี้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา แต่สำหรับอดีต ผบก.ส.3 คนก่อนรวมถึงคนไทยกลุ่มหนึ่งการให้ความสำคัญของขบวนจักรยานยนต์ฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์จักรยานยนต์เกียรติยศ บริเวณชั้นล่างโภชนาคาร ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และได้เปิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา โดยภายในนั้นได้รวบรวมรถฮาร์เล่ย์ตั้งแต่ยุคแรกๆจนมาถึงยุคปัจจุบันมาให้ชมกันแบบใกล้ชิดพร้อมทั้งบอกเล่าประวัติความเป็นมาของตำรวจสันติบาลอีกด้วย ทำให้ผบก.ส.3 ทุกคน รวมทั้ง พล.ต.ต.อรรณพ ปิ่นแจ้ง ผบก.ส.3 คนปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลรถเรื่อยมา
คุณเมธี วัฒนศิริโรจน์ ที่ปรึกษางานควบคุมการใช้ และเก็บรักษายานพาหนะ กองบังคับการตำรวจสันติบาล 3 ถือว่าเป็นหัวแรงในการทำให้รถฮาร์เล่ย์ในตำนานนี้กลับมาโลดแล่นได้อีกครั้งหนึ่งกล่าวว่าขบวนเกียรติยศนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ตำรวจสันติบาลได้นำรถจักรยานยนต์ ฮาร์เล่ย์ เดวิสสัน พ่วงข้าง ออกตรวจบริเวณรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และปฤิบัติการภารกิจนำขบวนเสด็จมาต่อเนี่อง ด้วยความที่ไม่มีใครดูแลและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอยู่ยังไม่สามารถดูแลและซ่อมแซมรถพวกนี้ได้เมื่อรถเสียจึงต้องจอดเก็บไว้เฉยๆเป็นที่น่าเสียดายถ้าคนรุ่นหลังไม่ได้มาเห็น
"การที่เรามาอุทิศตัวร่วมกับเพื่อนๆอีก 20 คนช่วยกันดูแลรถจักรยานยนต์พวกนี้เพราะเห็นว่าอะไรก็ตามที่ทำให้พระองค์ได้เราก็ยินดีทำ และทางรัฐบาลก็ไม่มีงบประมาณสำหรับการดูแลรถพวกนี้ แต่ละคันต้องใช้อะไหล่จากประเทศ และช่างที่ชำนาญ ผมเองก็ขับฮาเล่ย์มาตั้งแต่อายุ 17 จาทุกวันนี้ 30 กว่าปีแล้วครับ อยากให้รถนำขบวนพวกนี้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งหนึ่ง เลยรวมตัวกับเพื่อนๆโดยเอาเงินของเราเองมาช่วยกันซ่อมแซม บำรุง รถพวกนี้ ตั้งแต่รุ่นแรกไปจนถึงรุ่นปัจจุบัน ถามว่าทำไมต้องเป็นฮาร์เล่ย์เพราะมันเป็นรถตำนานมีเสน่ห์ในตัวเองมีเอกลักษณ์ที่หาไม่ได้ในบิ๊กไบค์อื่นๆ แม้เวลาจะผ่านไปกี่ปีก็ยังคงความเป็นฮาร์เล่ย์ไม่เปลี่ยนแปลงครับ"
ปัจจุบันรถจักรยานยนต์ฮาร์เลย์ เดวิดสัน ที่ใช้นำขบวนเกียรติยศเป็นรุ่น Road King Police ปี 2540 ขนาดเครื่องยนต์1,400 ซีซี มีอยู่ 20 คัน ความเร็วสูงสุดของรุ่นนี้ทำได้ถึง 200 กม./ชั่วโมง โดยรุ่นที่ใช้งานก่อนหน้านั้น คือ ฮาร์เลย์ เดวิดสัน Electra Glide ปี 2515 ที่ยังเหลืออยู่อีก 10 คัน และยังมีรุ่นปี 2511 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกจักรยานยนต์เกียรติยศในเมืองไทย
สำหรับระดับความสำคัญและรูปแบบขบวนนั้นมีทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน
State Visit นำ-แซงขบวนถวายพระเกียรติ เทอดพระเกียรติ สำหรับพระราชอาคัยตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นขบวนเต็มรูปแบบใช้รถทั้งหมด 15 คัน
Official Visit นำ-แซงขบวนเป็นเกียรติผู้นำรัฐบาลต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาล ใช้รถทั้งหมด 9 คัน
Working Visit นำ-แซงขบวนเพื่อเป็นเกียรติผู้นำรัฐบาลต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ในฐานะแขกของรัฐบาลแบบกึ่งทางการ ใช้รถทั้งหมด 5-7 คัน
Pretation of Letters of Credence นำ-แซงขบวนเอกอัครราชฑูตต่างประเทศประจำประเทศไทยเข้าเฝ้าฯถวายพระราชสาส์นตราตั้ง/อักษารสาส์นตราตั้ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชฑูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศไทย ใช้รถทั้งหมด 5-9 คันตามความเหมาะสมและความสำคัญ
ปัจจุบัน"ขบวนจักรยานยนต์เกียรติยศ "เหล่านี้ยังคงปฏิบัติภาระกิจอย่างต่อเนื่องด้วยความเสียสละ จงรักภักดีต่อประเทศชาติให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนไทยและคนทั่วโลก.................
เพิ่มเติม http://manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9530000018293
ร.ต.ท.บันลือ งามสะพรั่ง รองสว.กก.1 บก.ส.1 ตำรวจที่ทำหน้าที่ขับจักรยานยนต์ในขบวนเสด็จมากว่า 10 ปี ให้ข้อมูลกับ "ASTV ผู้จัดการ มอเตอริ่ง"ว่า ฝ่ายยานยนต์เกียรติยศนั้นมีหน้าที่ถวายความปลอดภัยพระบารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญฝ่ายไทยและต่างประเทศ สถานที่ราชการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ งานต่อต้านข่าวกรองด้านการเมือง งานการต่อต้านข่าวกรองด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา ความมั่นคงปลอดภัย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม งานจัดระเบียบช่างภาพและสื่อมวลชน และนับเป็นความภูมิใจสูงสุดของชีวิตที่ได้อารักขาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้สมกับที่ได้รับพระราชทานนามว่า “อัศวิน”
"การตั้งขบวนนั้นมีลักษณะเป็นหัวลูกศรขนาบไปกับรถยนต์ส่วนพระองค์ ใช้รถจักรยานยนต์ทั้งหมด 15 คันด้วยกันถ้าเป็นการจัดแบบขบวนเกียรติยศ เราจะต้องรักษาความปลอดภัยให้ทุกพระองค์อย่างแน่นหนา และมีระเบียบที่สุด ส่วนการคัดเลือกตำรวจที่จะมาขับรถจักรยานยนต์นี้เราจะเลือกจากตำรวจที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรถพอสมควร เนื่องจากจะได้ดูแลรถไปในตัวด้วย ปัจจุบันเรามีพลขับกว่า 30 นาย หมุนเวียนกันไป หากต้องเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินจำเป็นต้องจัดการให้คนคันอื่นๆพ้นทางไปเราก็ต้องชนเพราะเราต้องให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี"
การใช้งานกว่าหลายสิปปีทำให้เจ้าฮาเล่ย์เหล่านี้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา แต่สำหรับอดีต ผบก.ส.3 คนก่อนรวมถึงคนไทยกลุ่มหนึ่งการให้ความสำคัญของขบวนจักรยานยนต์ฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ด้วยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์จักรยานยนต์เกียรติยศ บริเวณชั้นล่างโภชนาคาร ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และได้เปิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา โดยภายในนั้นได้รวบรวมรถฮาร์เล่ย์ตั้งแต่ยุคแรกๆจนมาถึงยุคปัจจุบันมาให้ชมกันแบบใกล้ชิดพร้อมทั้งบอกเล่าประวัติความเป็นมาของตำรวจสันติบาลอีกด้วย ทำให้ผบก.ส.3 ทุกคน รวมทั้ง พล.ต.ต.อรรณพ ปิ่นแจ้ง ผบก.ส.3 คนปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลรถเรื่อยมา
คุณเมธี วัฒนศิริโรจน์ ที่ปรึกษางานควบคุมการใช้ และเก็บรักษายานพาหนะ กองบังคับการตำรวจสันติบาล 3 ถือว่าเป็นหัวแรงในการทำให้รถฮาร์เล่ย์ในตำนานนี้กลับมาโลดแล่นได้อีกครั้งหนึ่งกล่าวว่าขบวนเกียรติยศนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ตำรวจสันติบาลได้นำรถจักรยานยนต์ ฮาร์เล่ย์ เดวิสสัน พ่วงข้าง ออกตรวจบริเวณรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และปฤิบัติการภารกิจนำขบวนเสด็จมาต่อเนี่อง ด้วยความที่ไม่มีใครดูแลและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอยู่ยังไม่สามารถดูแลและซ่อมแซมรถพวกนี้ได้เมื่อรถเสียจึงต้องจอดเก็บไว้เฉยๆเป็นที่น่าเสียดายถ้าคนรุ่นหลังไม่ได้มาเห็น
"การที่เรามาอุทิศตัวร่วมกับเพื่อนๆอีก 20 คนช่วยกันดูแลรถจักรยานยนต์พวกนี้เพราะเห็นว่าอะไรก็ตามที่ทำให้พระองค์ได้เราก็ยินดีทำ และทางรัฐบาลก็ไม่มีงบประมาณสำหรับการดูแลรถพวกนี้ แต่ละคันต้องใช้อะไหล่จากประเทศ และช่างที่ชำนาญ ผมเองก็ขับฮาเล่ย์มาตั้งแต่อายุ 17 จาทุกวันนี้ 30 กว่าปีแล้วครับ อยากให้รถนำขบวนพวกนี้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งหนึ่ง เลยรวมตัวกับเพื่อนๆโดยเอาเงินของเราเองมาช่วยกันซ่อมแซม บำรุง รถพวกนี้ ตั้งแต่รุ่นแรกไปจนถึงรุ่นปัจจุบัน ถามว่าทำไมต้องเป็นฮาร์เล่ย์เพราะมันเป็นรถตำนานมีเสน่ห์ในตัวเองมีเอกลักษณ์ที่หาไม่ได้ในบิ๊กไบค์อื่นๆ แม้เวลาจะผ่านไปกี่ปีก็ยังคงความเป็นฮาร์เล่ย์ไม่เปลี่ยนแปลงครับ"
ปัจจุบันรถจักรยานยนต์ฮาร์เลย์ เดวิดสัน ที่ใช้นำขบวนเกียรติยศเป็นรุ่น Road King Police ปี 2540 ขนาดเครื่องยนต์1,400 ซีซี มีอยู่ 20 คัน ความเร็วสูงสุดของรุ่นนี้ทำได้ถึง 200 กม./ชั่วโมง โดยรุ่นที่ใช้งานก่อนหน้านั้น คือ ฮาร์เลย์ เดวิดสัน Electra Glide ปี 2515 ที่ยังเหลืออยู่อีก 10 คัน และยังมีรุ่นปี 2511 ซึ่งถือเป็นรุ่นบุกเบิกจักรยานยนต์เกียรติยศในเมืองไทย
สำหรับระดับความสำคัญและรูปแบบขบวนนั้นมีทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน
State Visit นำ-แซงขบวนถวายพระเกียรติ เทอดพระเกียรติ สำหรับพระราชอาคัยตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นขบวนเต็มรูปแบบใช้รถทั้งหมด 15 คัน
Official Visit นำ-แซงขบวนเป็นเกียรติผู้นำรัฐบาลต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาล ใช้รถทั้งหมด 9 คัน
Working Visit นำ-แซงขบวนเพื่อเป็นเกียรติผู้นำรัฐบาลต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ในฐานะแขกของรัฐบาลแบบกึ่งทางการ ใช้รถทั้งหมด 5-7 คัน
Pretation of Letters of Credence นำ-แซงขบวนเอกอัครราชฑูตต่างประเทศประจำประเทศไทยเข้าเฝ้าฯถวายพระราชสาส์นตราตั้ง/อักษารสาส์นตราตั้ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชฑูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศไทย ใช้รถทั้งหมด 5-9 คันตามความเหมาะสมและความสำคัญ
ปัจจุบัน"ขบวนจักรยานยนต์เกียรติยศ "เหล่านี้ยังคงปฏิบัติภาระกิจอย่างต่อเนื่องด้วยความเสียสละ จงรักภักดีต่อประเทศชาติให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนไทยและคนทั่วโลก.................
เพิ่มเติม http://manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9530000018293
No comments:
Post a Comment